Air Compressor ที่เหมาะกับโรงงานอุตสาหกรรม

by Admin

Air Compressor ที่เหมาะกับโรงงานอุตสาหกรรม

by Admin

by Admin

ในการติดตั้งเครื่องอัดอากาศ (Air Compressor) ใหม่ให้กับโรงงาน บ่อยครั้งที่มักจะเกิดปัญหาเกี่ยวกับการเลือกขนาดของเครื่องอัดลมขนาดเท่าไร จึงจะเพียงพอสำหรับอุปกรณ์ลมทั้งหมดในโรงงาน

หลักการเลือก Air Compressor และสิ่งที่ต้องพิจารณาถึงคือ

  1. แรงดันลม Pressure
  2. ปริมาณลมที่ต้องการใช้ Volume of Air

air compressor

1. แรงดันลม Pressure

ในการเลือกเครื่องอัดลม Air Compressor อันดับแรกจะต้องพิจารณาว่าเครื่องอัดลม หรือ Air Compresor ที่เราเลือกนั้น สามารถสร้างแรงดันได้เพียงพอสำหรับการใช้งานของเราหรือไม่ โดยมีหลักการเลือกขนาดแรงดัน Pressure ง่ายๆ คือ พิจารณาจากแรงดันของอุปกรณ์เครื่องมือลม หรือเครื่องจักรแต่ละตัวที่ใช้ว่าอุปกรณ์หรือเครื่องจักรตัวนั้นใช้แรงดันสูงสุด โดยยึดค่าแรงดันสูงสุดนั้น บวกเพิ่มด้วยแรงเสียดทานที่อาจสูญเสียไปจากการเดินท่อและ ชุดกรองลมเป็นค่าแรงดันต่ำสุดที่เครื่องอัดลมที่จะเลือกจะต้องทำได้ ซึ่งเพียงพอจะเขียนสมการได้ดังนี้

แรงดันต่ำสุดที่เครื่องอัดลมจะต้องทำได้ = แรงดันสูงสุดที่จำเป็นต้องใช้ในเครื่องจักร + แรงเสียดทายที่สูญเสียในระบบ

2. ปริมาณลม Volume of Air ที่ต้องใช้

โดยทั่วไปแล้วสำหรับการเลือกประเภทและขนาดปั๊มลมที่มักประสบปัญหาในทางปฏิบัติคือ จะเลือกปั๊มลมที่จ่ายประมาณลมเท่าไรถึงจะเพียงพอสำหรับ Load ในโรงงาน ซึ่งพอจะกล่าวหรือแบ่งได้เป็น 2 กรณีดังนี้

2.1 เพิ่มขนาดของปั๊มลมเมื่อทราบว่า Pressure ในระบบหรือโรงงานต่ำกว่าที่จะเดินเครื่องจักรได้ สำหรับกรณีนี้เราสามารถหาปริมาณลมที่ขาดไปเพื่อเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจได้ โดยใช้สูตรดังนี้

ยกตัวอย่าง

โรงงานแห่งหนึ่งมีการเพิ่มผลผลิต ทำให้ปริมาณลมที่ต้องใช้ไม่เพียงพอ ทำให้แรงดัน Pressure ในระบบตกลงเหลือ 5kg/cm2 เครื่องจักรทำงานมีประสิทธิภาพได้ดี แรงดันในระบบจะต้องใช้ 7kg / cm2 ปั๊มลมที่ใช้อยู่เดิมขนาด 50 แรงม้า สามารถจ่ายลมได้ 5 m3/min ที่แรงดัน 7kg / cm2 และสามารถจ่ายลมได้ 6 m3/min ที่แรงดัน 5kg / cm2

ดังนั้นขนาดของเครื่องอัดลมที่เพิ่ม จะต้องสามารถจ่ายลมได้ 3.0 m3/min ที่แรงดัน 7kg / cm2 อนึ่ง สำหรับการคำนวณหาปริมาณลมในลักษณะนี้ ควรจะทำการตรวจเช็คว่าลมในโรงงานว่ามีการสูญเสียลมเนื่องจากการรั่วตามข้อต่างๆหรือไม่  หรือมีการ Drop ของ Pressure เนื่องจากการอุตตันของเครื่องมือลมหรือเปล่า

2.2 เพิ่มเครื่องอัดลม เนื่องจากเพิ่มเครื่องจักรหรืออุปการณ์ที่ใช้ลมเพิ่มเติม หรือสร้างโรงงานใหม่

สำหรับการหาขนาดปริมาณลมที่จะใช้สำหรับกรณีนี้ ค่อนข้างจะยุงยากเล็กน้อย แต่ก็สามารถคำนวณได้โดยต้องทราบข้อมูลดังต่อไปนี้

  • ประเภทของเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ลมที่ใช้งานว่า แต่ละเครื่องใช้ปริมาณลมเท่าไร ซึ่งอาจขอรายละเอียดได้จากผู้ขายหรือดูจากคู่มือของสินค้านั้นๆ
  • Load factor หรือ Working ratio ของแต่ละเครื่องจักรแต่ละตัว

กรณีอุปกรณ์ลม

Working ratio = จำนวนอุปกรณ์ลมทั้งหมดที่ใช้ในขณะนั้น

Working ratio จำนวนอุปกรณ์ลมที่ใช้งาน
1 1-5
0.8 6-10
0.7 11-20
0.6 21-30
0.5 31-50
0.4 51-100

ตัวเลขของ Working ratio ตามด้านบน เป็นเพียงตัวเลขที่เหลือจากการใช้งานทั่วไป ซึ่งโดยหลักความเป็นจริงแล้ว

จะต้องขึ้นกับลักษณะของงานเป็นหลัก

ตัวอย่าง อู่ซ่อมรถแห่งหนึ่งใช้อุปกรณ์ลมดังรายการต่อไปนี้

Air Compressor

จำนวนอุปกรณ์ลม รายการอุปกรณ์ลม ปริมาณลม/แรงดัน
2 Car Lift 5.5 cfm. at 145-175 psi
2 Grease Guns 3cfm. at 120-150 psi
1 Spring Oiler 27 cfm. at 90-125 psi
1 Spark Plug Cleaner 8 cfm. at 70-100 psi
2 Type Inflators 1.5 cfm. at 120-150 psi
2 Impact Tool 4.0 cfm. at 120 psi
2 Blow Guns 2.5 cfm. at 70-180 psi

การคิดคำนวณหาขนาดของเครื่อง Air Compressor ที่ต้องนำมาใช้งาน

ดังนั้น ขนาดเครื่อง Air Compressor ที่ใช้ต้องมีปริมาณลมที่ได้ต่ำไม่เกิน 48cfm และมีแรงดันลมอย่างต่ำ 175 psi

ตัวอย่าง

Type of Tool Location Number A Load Factor B Per Tool C  Total AxC Total Actual AxBxC
Grinders Cleaning 10 50 50 500 250
Chippers Cleaning 10 50 30 300 150
Hoist Cleaning 2 10 35 70 7
Small Screw Driver Assembly 20 25 12 240 60
Lage Nut Setters Assembly 2 25 30 30 15
Wood borer Shipping 1 25 30 30 7.5
Screw Driver Shipping 1 20 30 30 7.5
Hoist Shipping 1 20 40 40 8
Blowguns Checks Machine
And Vises Shop 25
Total 47 1275 530

ตัวเลขที่ได้จากการคำนวณควรจะเผื่อไว้อย่างน้อย 10 % สำหรับกรณีการรั่วของลมจากการเดินท่อลมและสำหรับโรงงานที่สร้างใหม่ควรเผื่อไว้ 30% สำหรับการขยายงาน พึงระลึกไว้เสมอว่า ควรเลือกขนาดของเครื่องอัดลม (Air Compressor) ที่ใหญ่กว่าที่ใช้งานจริง แม้จะเพิ่มค่าใช้จ่ายเล็กน้อย ดีกว่าเลือกขนาดที่เล็กเกินไป ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตต่ำหรือสูญเสียการผลิต

Top