การติดตั้งท่อลมสำหรับใช้เครื่องปั๊มลมในโรงงานอุสาหกรรม

by Admin

การติดตั้งท่อลมสำหรับใช้เครื่องปั๊มลมในโรงงานอุสาหกรรม

by Admin

by Admin

การติดตั้งท่อลมสำหรับใช้เครื่องปั๊มลมในโรงงานอุสาหกรรม

การเดินท่อลมอัดในโรงงงานอุสหกรรม

การติดตั้งท่อลมอัดสำหรับใช้งานกับ เครื่องปั๊มลม หรือ Air Compressor เป็นสิ่งที่ผู้ติดตั้งควรให้ความสนใจเป็นพิเศษ เพื่อให้ เครื่องปั๊มลม สามารถส่งลมจากระบบท่อลมอัด ไปยังอุปกรณ์ต่างๆโดยปราศจากสิ่งสกปรกเจือปน เช่น ความชื้น หรือน้ำมัน เป็นต้น ทำให้ลมทีได้มีคุณภาพเหมาะกับการใช้งาน สำหรับคำแนะการติดตั้งท่อลมในโรงงานอุสาหกรรมมี 2หัวข้อใหญ่ดังนี้

คำแนะนำการติดตั้งท่อทางด้านดูดของเครื่องปั๊มลม

คำแนะนำการติดตั้งท่อด้านจ่ายจากเครื่องปั๊มลมไปยังถังเก็บลมอัด

คำแนะนำการติดตั้งท่อทางด้านดูดของเครื่องปั๊มลม

  1. ควรติดตั้งเครื่องกรองอากาศที่มีคุณภาพสูง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกรองฝุ่นละอองก่อนที่อากาศจะถูกดูดเข้าไปยังเครื่องปั๊มลม และเครื่องกรองอากาศนี้ควรติดตั้งอยู่ในตำแหน่งที่สามารถถอดได้ง่ายเพื่อความสะดวกในการดูแลรักษา ทำความสะอาด อีกทั้งควรติดตั้งเครื่องกรองอากาศในตำแหน่งที่ใกล้กับเครื่องปั๊มลมให้มากที่สุด ถ้าหากเครื่องปั๊มลม ใช้พวกตัวกรองดักเสียงด้วย ควรติดตั้งเครื่องกรองอากาศก่อนตัวกรองดักเสียง เพื่อช่วยลดควมสั่นสะเทือนต่างๆที่จะเกิดขึ้น
  2. ปากท่อดูดอากาศควรตั้งอยู่ห่างจากบริเวณที่มีสิ่งสกปรกหรือที่มีฝุ่นเยอะเช่น บริเวรที่มีการจราจรหนาแน่น หรือ บริเวณปากปล่องไฟที่ีมีควันหรือมีฝุ่นมากๆ เป็นต้น และถ้าเป็นไปได้ควรตั้งปากท่อดูดอากาศในบริเวณที่มีอากาศเย็นให้มากที่สุด เช่นบริเวณร่มเงาของอาคาร เพราะถ้าอากาศมีอุณหภูมิที่สูงขึ้นทุกๆ 4 องศา จะทำให้ค่าพลังงานที่ใช้ในการอัดอากาศปริมาณเดียวกันสูงขึ้น 1%
  3. ท่อทางด้านดูดอากาศ ควรจะมีขนาดใหญ่พอเพื่อที่จะลดการสูญเสียพลังงาน เพราะถ้ามีความดันอากาศสูงขึ้นประมาณ 25มิลลิบาร์ (ความดันประมาณน้ำ 10นิ้ว) ที่ท่อทางด้านดูดอากาศจะลดประสิทธิภาพการดูดอากาศลง 2%
  4. ท่อทางด้านดูดอากาศควรจะเป็นท่อเหล็กชุปสังกะสี และควรจะมีขนาดสั้นเท่าที่จะสั้นได้เพื่อป้องกันการกลั่นตัวของไอน้ำที่แฝงอยู่ในอากาศที่ีเครื่องปั๊มลมดูดเข้ามา และยังช่วยลดค่าความดันให้เหลือน้อยลง
  5. ตัวยึดท่อควรออกแบบให้ทนทานต่อการสั่นสะเทือน
  6. ถ้าท่อดูดอากาศตั้งอยู่ในภายนอกอาคาร ตรงปลายท่อดูดควรติตตั้งสูงกว่าระดับหลังคาเพื่อป้องกันเสียงสั่นสะเทือน

คำแนะนำการติดตั้งท่อด้านจ่ายจากเครื่องปั๊มลมไปยังถังเก็บลมอัด

การออกแบบและติดตั้งท่อส่งอากาศจาก เครื่องปั๊มลม ไปยังถังเก็บลมอัด มีสิ่งที่ควรคำนึงถึงดังต่อไปนี้

  1. ควรมีการติดตั้งวาล์วนิรภัยในกรณีที่ใช้เครื่องปั๊มลมแบบลูกสูบ และควรติดตั้งวาล์วนิรภัยนี้ก่อนวาล์วลดความดันหรือวาล์วสำหรับปิดท่ออากาศ การติดตั้งวาล์วนิรภัยสำหรับการใช้เครื่องปั๊มลมนี้จะช่วยป้องกันกรณีที่วาล์วด้านปลายทางไม่ทำงานในขณะที่เครื่องปั๊มลมยังทำงานอยู่ ซึ่งอาจทำให้เครื่องปั๊มลมเกิดความเสียหายได้ และควรอย่าลืมตั้งค่าวาล์วนิรภัยเปิด เมื่อค่าความดันในท่อสูงกว่าค่าความดันที่ใช้งานประมาณ 5-10% เพื่อระบายลมที่ถูกอัดออกจากเครื่องปั๊มลม
  2. ควรติดตั้งอุปกรณ์กรองดังเสียง (Attenuator) เพื่อลดเสียงที่ถูกส่งมาจากเครื่องปั๊มลม และตัวกรองดักเสียงนี้ควรติดตั้งใกล้กับเครื่องปั๊มลมให้มากที่สุด เพื่อลดอุปสรรคต่อการส่งจ่ายลม
  3. ควรติดตั้งอุปกรณ์วัดค่าต่างๆเช่น เทอร์โมมิเตอร์หรืออุปกรณ์ส่งสัญญาณแจ้งเตือนเมื่อลมในระบบมีความดันที่สูงขึ้น
  4. ท่อที่ออกจากเครื่องปั๊มลมนี้ควรจะมีขนาดเท่ากันหมด ไม่ควรมีขนาดเล็กกว่าหรือใหญ่กว่า และท่อลมอัดนี้ควรจะเอียงลงตามทิศทางการส่งลมเข้าถังเก็บลมอัดเพื่อไล่ความชื้นและสิ่งจือปนต่างๆในระบบท่อให้ตกลงถังเก็บลม เพื่อไว้ระบายออกภายหลัง
  5. ท่อลมอัดหรือท่อส่งลม ไม่ควรจะก่อนให้เกิดแรงดันหรือความเค้นขึ้นของเครื่องปั๊มลม หรืออุปกรณ์ลดความชื้น โดยจะต้องใช้ข้อต่อที่พอดี
  6. ท่ออัดลมควรจะเดินท่อในลักษณะที่เรียบร้อยไม่กีดขวางทางเข้าไปบำรุงรักษาเครื่องปั๊มลมและอุปกรณ์ลมต่างๆ
  7. ท่อลมอัดควรติดตั้งให้สั้นที่สุดเท่าที่ทำได้ และควรติดตั้งถังเก็บลมให้ใกล้กับเครื่องปั๊มลม
  8. ควรเก็บสารไวไฟหรือวัตถุไวไฟต่างๆให้อยู่ห่างจากท่อทางด้านส่งลม

เพิ่มเติม

การเดินท่อลมอัดในโรงงานอุสาหกรรม หรือเพื่อจ่ายลมไปยังจุดต่างๆ จำเป็นต้องมีการติดตั้งโดยช่างฝีมือและมีความรู้เกี่ยวกับระบบจัดการลมเพื่อให้การติดตั้งเป็นไปอย่างถูกต้องและได้มาตฐาน

สิ่งที่สำคัญอีกประการคือแม้ว่าอากาศที่ถูกอัดจะผ่านการกำจัดความชื้น ไม่ว่าจะโดยเครื่องแยกความชื้นหรือโดยปล่อยให้ความชื้นที่มีอยู่ในอากาศแยกตัวออกมาในถังเก็บลมก็ตาม แต่ก็ยังคงมีความชื้นในอากาศอัด รวมทั้งไอน้ำมันหรือฝุ่นละอองต่างๆติดไปในลมที่ถูกส่งไปตามท่อลมเสมอ ดังนั้นการติดตั้งท่อลมอัดที่ถูกต้องจึงเป็นวัตถุประสงค์ในการกำจัดสิ่งจือปนต่างๆเพื่อให้ได้ลมอัดที่บริสุทธิ์เหมาะกับการนำไปใช้งานต่อไป

เทคนิคในการติดตั้งท่อลมอัดสำหรับใช้งานกับเครื่องปั๊มลม

  1. ท่อลมอัดควรมีความลาดเอียงไปตามทิศทางการจ่ายลม ซึ่งความลาดเอียดที่เหมาะสมจะอยู่ที่ 1 ต่อ 100
  2. การแยกท่อลมย่อย เพื่อจ่ายลมไปยังจุดที่ใช้งานบริเวณต่างๆ ควรแยกท่อลมที่ส่วนบนของท่อลมเมน ทั้งนี้เพื่อลดความชื้นและสิ่งสกปรกต่างๆ ที่จือปนมากับลมอัด
  3. เมื่อท่อลมเมนมีการเปลี่ยนทิศทาง ควรจะหักส่วนปลายของท่อให้สูงขึ้นกว่าปลายของท่อลมเดิม เพราะบริเวณส่วนนี้เป็นส่วนที่มีการเปลี่ยนทิศทางของการเคลื่อนที่ของลม และการใช้สามตาแยกบริเวณดังกล่าวจะช่วยให้ไอน้ำและสิ่งจือปนที่มีอยู่ในอากาศตกลงมายังส่วนปลายของท่อลมเมน
  4. ควรจะติดตั้งตัวกรองความชื้นและสิ่งเจือปนต่างๆ ตรงจุดที่ท่อมีการเปลี่ยนแปลงทิศทาง หรือจุดที่ต่ำสุดของท่อ และจุดสำหรับระบายความชื้นและสิ่งจือปนออกจากลมอัด อาจจะใช้เพียงวาล์วที่สามารถ เปิด-ปิด ได้ด้วยมือ ซึ่งทำงานได้ง่าย แต่ผู้ใช้ต้องมีความใส่ใจในการเปิด-ปิดวาล์วเป็นระยะ หรืออาจจะใช้ตัวกรองสิ่งจือปนอัตโนมัติแทนซึ่งจะดีกว่าเพราะไม่ต้องคอย เปิด-ปิดวาล์ว
Top